วันเสาร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ฟ้อนสาวไหม

ฟ้อนสาวไหม


ฟ้อนสาวไหม เป็นศิลปะการฟ้อนรำประเภทหนึ่งของชาวล้านนาที่มีพัฒนาการ ทางรูปแบบมาจากการเลียนแบบอากัปกิริยาการสาวไหม ผู้ฟ้อนที่เห็นส่วนใหญ่มักเป็นหญิงสาว ลีลาในการฟ้อนดูอ่อนช้อยและงดงาม เป็นผลมาจากมายาวิวัฒน์แห่ศิลปะการต่อสู้ของชายชาตรีในล้านนาประเทศตั้งแต่อดีต




ฟ้อนสาวไหม เกี่ยวข้องกับอาชีพการทอผ้า ซึ่งเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นของคนในภาคเหนือ (ล้านนา)
กิจกรรมในวิถีชีวิตของชาวล้านนาส่วนใหญ่ผูกพันกับด้ายที่มาจากฝ้าย เพราะทำไร่ฝ้ายซึ่งเป็นพืชที่เหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศ ไม่ได้มีอาชีพปลูกหม่อนเลี้ยงไหมเหมือนภาคอื่น

หลักฐานที่สนับสนุนว่าการฟ้อนสาวไหม หมายถึงการฟ้อนที่ประดิษฐ์มาจากกระบวนการทอผ้าฝ้ายไม่ใช่ผ้าไหม ก็คือ สภาพความเป็นอยู่ การปลูกต้นฝ้ายเพื่อใช้ทอเป็นผ้าฝ้ายของชาวล้านนาตั้งแต่อดีตนั่นเอง ในล้านนามีการเลี้ยงไหมอยู่น้อยมากจนไม่อาจจะเรียกได้ว่าการปลูกหม่อน เลี้ยงไหมเป็นวัฒนธรรมของล้านนา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น