วันเสาร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

WELCOME to HW4tub1-4 's b l o g

สวัสดีค่ะ ยินดีต้อนรับเข้าสู่ HW4tub1-4 ' s b l o g
..
นาฏศิลป์ และการแสดง มีปัจจัยต่าง ๆ มากมายที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
และหนึ่งในปัจจัยนั้นก็คือ "อาชีพ" นั่นเองค่ะ
ซึ่งบล็อกนี้ก็ได้นำเสนอความรู้เรื่อง "อาชีพ" ปัจจัยที่มีผลต่อนาฏศิลป์และการแสดง
พร้อมกับตัวอย่างการแสดงต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วยค่ะ

ยังมีเรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจอีกนะคะ ตามไปชมได้เลยยย ย..
....





...
ขอบคุณที่เข้ามาเยี่ยมชมค่ะ : )))

ระบำข้าวหลามหนองมน

ระบำข้าวหลามหนองมน

เป็นการแสดงที่มีที่มาจากอาชีพการทำข้าวหลาม

ประเพณีลอยเรือ

ประเพณีลอยเรือ

ประเพณีลอยเรือเป็นประเพณีที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษดั้งเดิมของชาวอูรักลาโวย ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดกระบี่และจังหวัดใกล้เคียง เมื่อถึงเวลาที่กำหนดสมาชิกในชุมชนและญาติพี่น้องที่แยกย้ายถิ่นไปทำมาหากินในแถบทะเล และหมู่เกาะต่าง ๆ ในทะเลอันดามันจะพากันเดินทางกลับมายังถิ่นฐาน เพื่อประกอบพิธีนี้

NEXT>> การแสดงภาคกลาง

เพลงเกี่ยวข้าว

เพลงเกี่ยวข้าว
เป็นเพลงที่สำหรับร้องกันในขณะลงแขกเกี่ยวข้าว อันเป็นอาชีพสำคัญของประชาชนชาวไทยอย่างหนึ่ง เพื่อให้ความสนุกสนานกับความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าในการงาน และเชื่อมความสามัคคีในระหว่างพื้นบ้านอาชีพเดียวกัน เพลงเกี่ยวข้าวจะเล่นกันในฤดูเกี่ยวข้าว จะเล่นกันเมื่อหยุดจากการเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว เหมือนกับเพลงเต้นกำรำเคียว กล่าวคือ จะเล่นเพลงเกี่ยวข้าวก่อนที่จะเล่นเพลงเต้นกำรำเคียว และไม่มีกำหนดเวลาในการเล่น คือ เล่นกันจนเหนื่อยก็เลิก เนื้อความของเพลงมักจะเกี่ยวกับ การไต่ถามถึงการทำนาผสมผสานการเกี้ยวพาราสีกัน

เพลงเกี่ยวข้าว บางแห่งเรียก "เพลงกำ" เวลาแสดงมือหนึ่งถือเคียว อีกมือหนึ่งกำข้าวไว้ ย่ำเท้าใช้ลีลาไปตามจังหวะเพลง ใช้ตบมือให้จังหวะพร้อมๆ กัน บางครั้งใช้กลองและฉิ่งเข้าร่วมด้วย

วิธีเล่น แบ่งผู้เล่นออกเป็นฝ่ายชายและฝ่ายหญิง แต่ละฝ่ายจะถือเคียวมีพ่อเพลงและแม่เพลง ซึ่งจะมีกี่คนก็ได้ พ่อเพลงจะออกมาร้องก่อน แล้วฝ่ายหญิงก็ร้องตอบโต้ โดยขึ้นต้นว่า “เอ่อ เออ เอิ้ง เอ๊ย” ลูกคู่รับว่า “ฮ้าไฮ้” หรือ “โหยย เอ้า โหยย โหยย”

เต้นกำรำเคียว

เต้นกำรำเคียว



เป็นการแสดงพื้นเมืองที่เก่าแก่ของชาวชนบทในภาคกลาง แถบจังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งชาวชนบทส่วนมากมีอาชีพการทำนาเป็นหลัก และด้วยนิสัยรักสนุกกับการเป็นเจ้าบทเจ้ากลอน จึงได้เกิดการเต้นกำรำเคียวขึ้น ในเนื้อเพลงจะสะท้อนให้เห็นสภาพความเป็นอยู่ของชาวบ้าน ลักษณะการรำ จะเน้นความสนุกเป็นใหญ่ มีทั้งเต้นและรำควบคู่กันไป ในมือของผู้รำข้างหนึ่งจะถือเคียว อีกข้างหนึ่งถือข้าวที่เกี่ยวแล้ว จึงเรียกการแสดงนี้ว่า "เต้นกำรำเคียว" จะเล่นกันในฤดูเกี่ยวข้าว

วิธีเล่น ผู้เล่นประมาณห้าคู่ แบ่งผู้เล่นเป็นสองฝ่าย ฝ่ายชายเรียกว่า พ่อเพลง ฝ่ายหญิงเรียกว่า แม่เพลง เริ่มด้วยพ่อเพลงร้องชักชวนแม่เพลงให้ออกมาเต้นกำรำเคียว โดยร้องเพลงและเต้นออกไปรำล่อฝ่ายหญิงและแม่เพลงก็ร้องและรำแก้กันไป ซึ่งพ่อเพลงแม่เพลงนี้อาจเปลี่ยนไปหลายๆคน ช่วยกันร้องจนจบเพลง ผู้ที่ไม่ได้เป็นพ่อเพลงแม่เพลงก็จะเป็นลูกคู่ ปรบมือและร้องเฮ้ เฮ้วให้จังหวะ

เครื่องแต่งกาย ฝ่ายชายจะนุ่งกางเกงขาก๊วยและเสื้อกุยเฮงสีดำ มีผ้าขาวม้าคาดพุงสวมงอบไม่สวมรองเท้า ฝ่ายหญิงจะนุ่งโจงกระเบนและเสื้อกระบอกสีดำทั้งชุด ทัดดอกไม้ที่หูขวาและไม่สวมรองเท้าเช่นกัน ผู้แสดงทุกคนถือเคียวในมือขวา และถือรวงข้าวในมือซ้าย

ระบำปาเต๊ะ

ระบำปาเต๊ะ
ได้นำเอาขั้นตอนการทำผ้าปาเต๊ะมาประยุกต์ ดัดแปลงเพื่อประกอบเข้ากับท่าเต้นรำของการแสดงพื้นเมืองภาคใต้ โดยจะเริ่มจากการแบกภาชนะใส่เทียนไปเคี่ยวบนไฟร้อนละลาย การถือกรอบไม้ออกมาขึงผ้าเพื่อเขียนลวดลาย ขั้นตอนการย้อมผ้า การนำผ้าที่ย้อมมาตากและจบลงด้วยทุกกลุ่มออกมาร่วมเริงระบำอย่างสนุกสนาน แสดงความชื่นชมพอใจในชุดผ้าปาเต๊ะที่สวยงาม

เครื่องดนตรี ใช้วงดนตรีพื้นเมืองภาคใต้

ระบำร่อนแร่

ระบำร่อนแร่

เป็นระบำที่ปรับปรุงขึ้นตามลีลาท่าทางในการประกอบอาชีพของชาวไทยภาคใต้ จัดแสดงถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินเยือนภาคใต้เป็นครั้งแรก ต่อมาได้มีการปรับปรุง และเรียบเรียงท่าขึ้นใหม่ โดยใช้เพลง "ตลุงราษฎร์"

NEXT>> ระบำปาเต๊ะ

เซิ้งสวิง

เซิ้งสวิง
เป็นการฟ้อนรำที่จำลอง หรือเล่าเรื่องราวการหาสัตว์น้ำของชาวบ้าน โดยใช้สวิงเป็นอุปกรณ์หรือเครื่องมือ แสดงคู่ชาย-หญิง ก็ได้ หรือ แสดงเพียงผู้หญิงเท่านั้น ก็ได้




ท่าฟ้อนจะแสดงให้เห็นถึงการออกไปหาปลา การช้อนปลา จับปลา และดีอกดีใจเมื่อหาปลาได้มากๆ ผู้แสดงฝ่ายหญิงจะเป็นผู้ถือสวิงไปช้อนปลา ส่วนฝ่ายชายจะนำข้องไปคอยใส่ปลาที่ฝ่ายหญิงจับได้



อุปกรณ์ หญิงถือสวิง ชายสะพายข้อง

การแต่งกาย

- ฝ่ายหญิงสวมเสื้อแขนกระบอกคอกลม นุ่งซิ่นมัดหมี่ เกล้าผมมวยทัดดอกไม้

- ฝ่ายชายสวมเสื้อม่อฮ่อม นุ่งกางเกงขาก๊วย เอาผ้าขาวม้าคาดพุง

NEXT>> การแสดงภาคใต้

ระบำกรีดยาง

ระบำกรีดยาง


เป็นการแสดงของชาวภาคใต้ ดัดแปลงมาจากการทำสวนยาง ซึ่งเป็นอาชีพหลักของชาวปักษ์ใต้ ท่ารำเริ่มจากากรออกไปกรีดยาง ฝ่ายชายจะมีไฟฉายติดอยู่บนศีรษะ และถือมีดสำหรับกรีดยาง การที่ต้องมีไฟฉายเพราะออกไปกรีดยางตอนดึก พอรุ่งเช้าก็ออกไปเก็บยาง ต่อจากนั้นก็นำน้ำยางไปผสมกับน้ำยา แล้วกวนจนน้ำยางแข็งตัว จึงนำไปนวด และรีดเป็นแผ่น แล้วนำออกตากแดด จนถึงการเก็บแผ่นยาง

รำบ้านกระโดก

รำบ้านกระโดก
บ้านประโดกมีชื่อเสียงมากในเรื่องทำขนมจีน ซึ่งมีเส้นเหนียวและน้ำยาหอมรสกลมกล่อม และน้ำยาบ้านประโดกก็แตกต่างจากที่อื่น

การรำบ้านประโดก จึงได้แนวคิดมาจากการประกอบอาชีพที่ขึ้นหน้าขึ้นตาของชาวบ้าน ทางภาควิชานาฏศิลป์ วิทยาลัยครูนครราชสีมา จึงได้นำลีลาการประกอบอาชีพโดยประดิษฐ์ท่าฟ้อนแสดงขั้นตอนการทำขนมจีนตั้งแต่การแช่แป้ง โขลกนวดแป้ง โรยขนมจีน แล้วนำไปขายที่ตลาด
เครื่องแต่งกาย
ฝ่ายหญิงสวม เสื้อแขนกระบอก ห่มสไบนุ่งซิ่นมัดหมี่ ฝ่ายชายสวม เสื้อคอกลมแขนสั้นนุ่งกางเกงขาก๊วย ใช้ผ้าขาวม้ามัดเอว
เครื่องดนตรี ดนตรีที่ใช้ประกอบการฟ้อนจะใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสาน

รำปั้นหม้อ

รำปั้นหม้อ
รำปั้นหม้อได้แนวคิดจากวิธีการปั้นหม้อ ซึ่งมีเอกลักษณ์และยังคงวิธีการอันดั้งเดิม ซึ่งแตกต่างจากการปั้นหม้อสมัยใหม่ และในปัจจุบันยังคงทำสืบต่อกันมาจนทุกวันนี้


การฟ้อนเริ่มจากการที่ชายหนุ่มไปขนดินมาให้ฝ่ายหญิง ฝ่ายหญิงจะเริ่มกระบวนการปั้นจนให้เป็นรูปหม้อ และฝ่ายชายจะนำฟืนมาเพื่อเตรียมเผาหม้อ ในระหว่างที่รอให้เผาหม้อให้เรียบร้อยจะมีการเกี้ยวพาราสีกัน


ครื่องแต่งกาย ฝ่ายชายจะใส่เสื้อม่อฮ่อมกางเกงขาก๊วย ใช้ผ้าขาวม้าคาดเอว ฝ่ายหญิงจะนุ่งโจงกระเบนสีพื้น ใช้ผ้าขาวม้ารัดอกและโพกศีรษะ ซึ่งเป้นลักษณะการแต่งกายของชาวโคราชเดิม
เครื่องดนตรี ใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสาน โดยใช้ลายลำเพลิน

ฟ้อนแพรวา

ฟ้อนแพรวา
การทอผ้าแพรวาต้องใช้ความประณีตบรรจงละเอียด ผ่านขั้นตอนที่ยุ่งยากซับซ้อนและต้องอาศัยความเพียรพยายามอย่างมาก ด้วยเหตุนี้ชาวอีสานจึงถือว่า ผ้าที่ทอด้วยลายขิดเป็นของสูง และจะเก็บไว้ในที่อันควร

ฟ้อนแพรวา เป็นชุดฟ้อนที่ประดิษฐ์ขึ้นใหม่ ได้นำวิธีการทอผ้าแพรวา แสดงให้เห็นทุกขั้นตอน ผ้าแพรในที่นี้หมายถึงผ้าที่มีความยาว 1 วา ปกติใช้คลุมไหล่ผู้หญิงหรือทำผ้าสไบ มีทั้งทำด้วยผ้าและทำด้วยไหม ท่าฟ้อนแพรวาจะแสดงลำดับขั้นตอนของการทอผ้าแพรวาตามแบบพื้นเมือง โดยเริ่มจากการเก็บฝ้าย การตากฝ้าย ล้อฝ้าย เปียฝ้าย ย้อมฝ้าย ค้นหูก จนกระทั่งถึงการทอเป็นผืน

เครื่องแต่งกาย ผู้แสดงใช้ผู้หญิงล้วน แต่งกายด้วยผ้าถุงมัดหมี่สีดำ สวมเสื้อคอกระเช้าสีขาว ซึ่งเป็นเสื้อที่ชาวบ้านอีสานนิยมสวมอยู่กับบ้าน คลุมไหล่ด้วยผ้าแพรวา
เครื่องดนตรี ดนตรีที่ใช้ประกอบการฟ้อนจะใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสาน ทำนองเพลงลาวอุบล

ฟ้อนเก็บฝ้าย

ฟ้อนเก็บฝ้าย




เป็นการแสดงที่สื่อให้เห็นถึงวิถีชีวิตอย่างหนึ่งของชาวไทอีสาน โดยเฉพาะชาวไทเลยและชาวไทในจังหวัดเพชรบูรณ์ ที่มีการทอผ้าฝ้ายมาใช้ในชีวิตประจำวันเป็นจำนวนมาก


การแต่งกาย
- หญิง สวมเสื้อแขนกระบอกสีดำตัดขอบแดง ใช้ผ้าแพรวาแดงมัดศีรษะและปล่อยชายมาด้านซ้าย นุ่งผ้าซิ่นมัดหมี่สลับจกสีดำ สะพายกระหยัง และสวมเครื่องประดับเงิน

- ชาย สวมเสื้อย้อมครามแขนสั้น นุ่งกางเกงขาก๊วย ใช้ผ้าแพรขิดแดงโพกศีรษะและมัดเอว

รำต่ำหูกผูกขิด

รำต่ำหูกผูกขิด

การทอผ้าขิดเป็นเรื่องที่มีความยุ่งยากซับซ้อนเป็นอย่างมาก ต้องใช้ความพยายามอย่างสูงในการทอผ้าขิด ชาวอีสานจึงถือว่าผ้าขิด เป็นของสูงจะใช้ในพิธีสำคัญๆ เท่านั้น เช่น พิธีแต่งงาน เป็นต้น อุปกรณ์ที่สำคัญในการทอผ้าลายขิด


การแสดงชุด "รำต่ำหูกผูกขิด" เป็นการแสดงให้เห็นขั้นตอนต่างๆ ในการทอผ้าลายขิด ตั้งแต่เริ่มเก็บฝ้าย การกวักฝ้าย การค้นหูก การปั่นด้าย จนกระทั่งทอเป็นผืน


เครื่องแต่งกาย ผู้แสดงหญิงล้วน เสื้อแขนกระบอกคอกลมนุ่งซิ่น ใช้ผ้าผูกเอว เกล้ามวยทัดดอกไม้
เครื่องดนตรี ใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสาน ใช้ลายลำเพลิน และทำนองเซิ้ง

จ้องบ่อสร้าง

จ้องบ่อสร้าง

การทำจ้องบ่อสร้าง หรือการทำร่มที่บ้านบ่อสร้างนั้นเป็นศิลปหัตถกรรมและอาชีพของชาวเหนือ โดยเริ่มทำกันมาเป็นเวลาช้านานแล้วสันนิษฐานกันว่า คงจะทำกันมาเป็นเวลาร้อยๆปี ขึ้นไป จากคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ของหมู่บ้าน ซึ่งเล่าให้ฟังว่า ครั้งหนึ่งนานมาแล้วมีพระธุดงค์องค์หนึ่ง ท่านมีภูมิลำเนาอยู่ที่ บ้านบ่อสร้างได้ออกไปธุดงค์ที่ประเทศพม่า ท่านได้พบเห็นและได้นำวิธีการทำ ร่มจากพม่ามาเผยแพร่ในหมู่บ้านแห่งนี้

NEXT>> การแสดงภาคอีสาน

ฟ้อนสาวไหม

ฟ้อนสาวไหม


ฟ้อนสาวไหม เป็นศิลปะการฟ้อนรำประเภทหนึ่งของชาวล้านนาที่มีพัฒนาการ ทางรูปแบบมาจากการเลียนแบบอากัปกิริยาการสาวไหม ผู้ฟ้อนที่เห็นส่วนใหญ่มักเป็นหญิงสาว ลีลาในการฟ้อนดูอ่อนช้อยและงดงาม เป็นผลมาจากมายาวิวัฒน์แห่ศิลปะการต่อสู้ของชายชาตรีในล้านนาประเทศตั้งแต่อดีต




ฟ้อนสาวไหม เกี่ยวข้องกับอาชีพการทอผ้า ซึ่งเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นของคนในภาคเหนือ (ล้านนา)
กิจกรรมในวิถีชีวิตของชาวล้านนาส่วนใหญ่ผูกพันกับด้ายที่มาจากฝ้าย เพราะทำไร่ฝ้ายซึ่งเป็นพืชที่เหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศ ไม่ได้มีอาชีพปลูกหม่อนเลี้ยงไหมเหมือนภาคอื่น

หลักฐานที่สนับสนุนว่าการฟ้อนสาวไหม หมายถึงการฟ้อนที่ประดิษฐ์มาจากกระบวนการทอผ้าฝ้ายไม่ใช่ผ้าไหม ก็คือ สภาพความเป็นอยู่ การปลูกต้นฝ้ายเพื่อใช้ทอเป็นผ้าฝ้ายของชาวล้านนาตั้งแต่อดีตนั่นเอง ในล้านนามีการเลี้ยงไหมอยู่น้อยมากจนไม่อาจจะเรียกได้ว่าการปลูกหม่อน เลี้ยงไหมเป็นวัฒนธรรมของล้านนา

การแสดงภาคอื่น ๆ

ภาคตะวันออก
นอกจากการแสดง การละเล่นพื้นบ้านของทั้ง 4 ภาค คือ ภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคใต้ และภาคกลางแล้ว ยังมีการแสดงที่เกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพของภาคอื่น ๆ อีก

ตัวอย่างการแสดง เช่น


*ภาคเหนือ
*ภาคอีสาน
*ภาคใต้
*ภาคกลาง

การแสดงภาคกลาง

ภาคกลาง

มีศิลปะการรำ และการละเล่นของชาวพื้นบ้านภาคกลาง ซึ่งส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม ศิลปะการแสดงจึงมีความสอดคล้องกับวิถีชีวิต เพื่อความบันเทิง สนุกสนาน เป็นการพักผ่อนหย่อนใจจากการทำงาน หรือเมื่อเสร็จจากฤดูเก็บเกี่ยว ส่วนมากเป็นการละเล่นประเภทการร้องโต้ตอบกันระหว่าง ฝ่ายชายและฝ่ายหญิงโดยใช้ปฏิภาณไหวพริบในการร้องด้นกลอนสด
ตัวอย่างการแสดง เช่น

*ภาคเหนือ

*ภาคอีสาน

*ภาคใต้

*อื่น ๆ

การแสดงภาคใต้

ภาคใต้

อาชีพหลักของชาวใต้ คือ การการทำสวนยาง การกรีดยาง ซึ่งมีการแสดง การระบำที่ปรับปรุงมาจากกิจกรรมในวิถีชีวิตศิลปาชีพ การประกอบอาชีพของชาวใต้
ตัวอย่างการแสดง เช่น

*ภาคเหนือ
*ภาคอีสาน
*
ภาคกลาง
*
อื่น ๆ

การแสดงภาคอีสาน

ภาคอีสาน
ชาวอีสานส่วนใหญ่มีอาชีพทางเกษตรกรรม โดยเฉพาะการทำนา หลังฤดูการเก็บเกี่ยวชาวอีสานก็จะว่างจากการทำงานก็จะทำอาชีพรอง เช่น การทอผ้า การจักสาน การทอเสื่อ ฯลฯ ซึ่งพอจะทำให้มีรายได้เสริมเพิ่มขึ้นได้ อาชีพรองที่ชาวอีสานทำกันในแทบทุกจังหวัดของภาคอีสาน คือ การทอผ้า
การแสดงและการละเล่นมักเกิดจากกิจวัตรประจำวัน การทำงานประกอบอาชีพในแต่ละวัน
ตัวอย่างการแสดง เช่น

*ภาคเหนือ

*ภาคใต้

*ภาคกลาง

*อื่น ๆ

การแสดงภาคเหนือ

ภาคเหนือ
ในภาคเหนือ ภูมิประเทศเป็นป่าเขา ต้นน้ำลำธาร อุดมด้วยทรัพยากรธรรมชาติ การทำมาหากินสะดวกสบาย ส่วนใหญ่มักประกอบอาชีพเกษตรกรรม และศิลปหัตถกรรม


ตัวอย่างการแสดง เช่น



*ภาคอีสาน
*ภาคใต้
*
ภาคกลาง
*
อื่น ๆ


การฟ้อนศิลปาชีพ

การฟ้อนศิลปาชีพ ได้พัฒนาขึ้นมาจากการประชุมของยูเนสโก เมื่อปี พ.ศ. 2513 เพื่อที่จะส่งเสริมและฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมประจำภาคในท้องถิ่นต่าง ๆ จึงได้มีการนำเอาการประกอบอาชีพต่าง ๆ มาจัดทำเป็นชุดฟ้อนขึ้น เพื่อจะสะท้อนให้เห็นขั้นตอนในการประกอบอาชีพ รวมถึงวิถีการดำรงชีวิตของชาวท้องถิ่นนั้น ๆ



ชุดการฟ้อนศิลปาชีพนี้มีการแสดงในหลายภาค

อาชีพที่มีผลต่อการแสดง

การประกอบด้านอาชีพต่าง ๆ ที่มีผลต่อนาฏศิลป์และการแสดง เช่น


  • เกษตรกรรม
  • กสิกรรม
  • ศิลปหัตถกรรม

อาชีพทางด้านต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดการแสดงและการละเล่นต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความสนุกเพลิดเพลิน ภายหลังความเหน็ดเหนื่อยจากการทำงาน หรือสะท้อนให้เห็นการทำงานนั้น ๆ เช่น เต้นกำรำเคียว ระบำกรีดยาง รำปั้นหม้อ ฟ้อนสาวไหม เป็นต้น




ภาพการแสดง "เต้นกำรำเคียว"


ภาพการแสดง "ฟ้อนสาวไหม"

NEXT>> การฟ้อนศิลปาชีพ

"อาชีพ" ปัจจัยที่มีผลต่อนาฏศิลป์และการแสดง

อาชีพ เป็นปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อการก่อเกิด และการเปลี่ยนแปลงของนาฏศิลป์ไทย รวมถึงการแสดงต่าง ๆ โดยเฉพาะการแสดงพื้นเมือง และการละเล่นพื้นบ้านต่าง ๆ



การแสดงพื้นเมือง จะมีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของท้องถิ่นนั้น ซึ่งจะสะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิตความเป็นอยู่ การประกอบอาชีพ

ท้องถิ่นที่ต่างกัน มีการดำรงชีวิต การประกอบอาชีพที่แตกต่างกันไปตามลักษณะของท้องถิ่นนั้น ก็ส่งผลให้เกิดการแสดงที่มีเอกลักษณ์แตกต่างกันออกไป